5 นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย อนาคตไกล น่าจับตามองทั้งเก่งทั้งหล่อหลากหลายสไตล์

5 นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย อนาคตไกล น่าจับตามองทั้งเก่งทั้งหล่อหลากหลายสไตล์

ถึงแม้ว่าประเทศไทยนั้นในเรื่องของกีฬารักบี้ อาจจะยังไม่ได้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย แต่ว่าไทยเราก็มีทีม นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย ที่มีสามารถอยู่ด้วยกันหลายคน ซึ่งนักกีฬารักบี้ส่วนใหญ่ก็จะมีรูปร่างกำยำ และมีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก เพราะกีฬารักบี้จะต้องมีการปะทะเพื่อที่จะแย่งลูกรักบี้ มาทำความรู้จักกับ นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย อนาคตไกลทั้ง 5 คนนี้ ที่น่าจับตามองทั้งเก่งทั้งหล่อหลากหลายสไตล์

 

1. ฆฤณ ลักษณสมพงศ์ (คิน)

นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย ฆฤณ ลักษณสมพงศ์

 

คิน หนุ่มหล่อนัยน์ตาชวนฝันคนนี้ หน้าที่ของเขาก็คือต้องกำหนดทิศทางการเล่นของแผงกองหลัง เขาจะต้องตะโกนแผนการเล่นให้กับคนในทีม เพื่อที่จะได้โต้ตอบกับทีมฝ่ายตรงข้ามได้ และยังเป็นคนเร่งจังหวะหรือผ่อนเกมให้ช้าลง สำหรับหน้าที่ของเขาเรียกได้ว่าเป็นมันสมองของทีมเลย และในหลายๆครั้งของการเล่นในตำแหน่งนี้ ก็เหมือนกับเป็นการชี้เป็นชี้ตายให้ทีมได้เลย

 

2. ภูรีพงษ์ วชิรบรรจง (ไรเฟิ่ล)

นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย ภูรีพงษ์ วชิรบรรจง

 

ไรเฟิ่ล หนุ่มหล่อเครางามมาดเซอร์ หนุ่มคนนี้ถือว่าทีเด็ดด้วยความที่นามสกุลคุ้นหูเพราะเป็นลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ “อ๊อฟ” พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ศิลปินดารารุ่นใหญ่ของเมืองไทย อีกทั้งหนุ่มไรเฟิลยังเป็นนักรักบี้ที่ร่างกายใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกลดีกรีนักเรียนนอกจากอังกฤษที่ฝึกรักบี้จากดินแดนต้นตำรับเกือบๆ 7 ปีเลยทีเดียว โดยเจ้าตัวมีสไตล์การเล่นที่บู๊ล้างผลาญ อาศัยร่างใหญ่วิ่งชนทุกอย่างที่ขวางทาง ถือว่าเป็นนักรักบี้สายลุยที่น่าจับตามอง

 

3. คมจักร​ จักร​พันธุ์​ ณ​ อยุธยา​ (ชาย)

นักกีฬารักบี้หนุ่มไทย คมจักร​ จักร​พันธุ์​ ณ​ อยุธยา

 

ชาย หรือ คุณชาย เป็นหนุ่มมาดเข้มแบบไทยๆ แต่สุขุมนุ่มลึกสไตล์คุณชาย เป็นนักรักบี้อีก 1 คนที่สู้ทุกสถานการณ์และยังเป็นอีกคนที่ฟอร์มการเล่นโดดเด่นเคยติดทีมชาติไทยชุดใหญ่พร้อมกัน 2 ชุด เขาเล่นอยู่ในตำแหน่งเซ็นเตอร์ใน ซึ่งเขาจะมีหน้าที่รับผิดชอบการบุกเข้าไปในกองหลังของฝ่ายตรงข้าม เพื่อที่จะรุกพื้นที่ให้ได้ทำคะแนน ซึ่งจะต้องเป็นผู้เล่นที่มีความว่องไวและความแข็งแรงเพื่อรับแรงปะทะจากฝ่ายตรงข้ามให้ได้ โดยมีหน้าที่เล่นกองหน้าที่ต้องใช้ร่างกายค่อนข้างหนัก แต่เขาก็มีสกิลการจ่ายลูกขั้นเทพและเทคนิคที่โชว์เมื่อไรได้เสียงฮือฮาแน่นอน

 

4. นพสิทธิ์ กลัดกระยาง (จ๊อบ)

นักรักบี้หนุ่มไทย นพสิทธิ์ กลัดกระยาง

 

จ๊อบ เป็นอีกหนุ่มไทยผิวเข้ม ที่มีดีตรงยิ้มเห็นเขี้ยวสเน่ห์ ทั้งมีรูปร่างที่เต็มไปด้วยมัดกล้ามส่วนเรื่องฝีมือการเล่นรักบี้นั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมีส่วนช่วยทีมชาติไทยคว้าเหรียญทองแดงซีเกมส์ครั้งที่ 30 แต่ด้วยความที่อายุยังน้อยมีโอกาสพัฒนาฝีมืออีกเยอะ ซึ่งในอนาคตอาจจะถูกวางไว้เป็นตัวหลักอย่างแน่นอน  อีกทั้ง จ๊อบ ยังเป็นนักรักบี้สายสปีดหาตัวจับยาก วิ่งฉีกกระจุยคือหน้าที่หลักของเจ้าตัว

 

5. วรงค์กรณ์ คำเกิด (กล้วย)

นักรักบี้หนุ่มไทย วรงค์กรณ์ คำเกิด

 

กล้วย หนุ่มหล่อหน้ามน เป็นกัปตันจอมเตะลูกนิ่ง เขามีตำแหน่งเป็นกัปตันทีมรักบี้ทีมชาติไทย ได้เป็นตัวแทนทีมชาติไทยในการแข่งขันในหลายๆรายการ เรียกได้ว่าเป็นนักกีฬาที่มีรักบี้อยู่ในสายเลือดเลยก็ว่าได้ เขาใช้กีฬารักบี้ในการเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหตุผลที่เขาหันมาเล่นกีฬารักบี้ก็คือต้องการให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เขาตัดสินใจอำลาวงกรอย่างถาวรหลังจบศึกเอเชียในปี 2564 หลังโลดแล่นในวงการรักบี้ทีมชาติไทยมานาน 15 ปี โดยวางแผนนั่งแท่นเป็นโค้ชทีมเยาวชนในอนาคต

 

ประวัติงานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ตำนานศึกคนชนคนในไทย

งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์

 

งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ (CU–TU Traditional Rugby–Football Match) เป็นการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่า ซึ่งได้มีการจัดการแข่งขันกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 ณ สนามศุภชลาศัย โดยคณะกลุ่มบุคคลจากนักรักบี้ฟุตบอลที่เคยเป็นนิสิตนักศึกษาเก่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีขึ้น

โดยการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ถือเป็นประเพณีการแข่งขันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความสามัคคีของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลของทั้งสองมหาวิทยาลัยและผู้เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย คณาจารย์ ศิษย์เก่า และนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันในการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปี โดยหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้จัดการแข่งขัน และเป็นแบบอย่างที่ดี ในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลให้แก่เยาวชนของชาติ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันประกอบไปด้วยนิสิตหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่หรือเคยศึกษาหรือจบการศึกษาแล้ว

 

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2503 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานถ้วยรางวัล “มหิดล” แก่ผู้ชนะในการแข่งขัน พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ท่านเสร็จพระราชดำเนินเป็นประธานการแข่งขัน พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะและของที่ระลึกแก่กรรมการผู้ตัดสินและนักกีฬาของทั้งสองทีมด้วยพระองค์เองในช่วงแรกอยู่หลายปี ทั้งสองมหาวิทยาลัยจึงถือว่าการแข่งขันในปี พ.ศ. 2503 เป็นการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

จากนั้นมีการแข่งขันตลอดมาจนถึงครั้งที่ 22 เมื่อ พ.ศ. 2527 แล้วได้หยุดการแข่งขันไป เนื่องจากมีการทำกิจกรรมอื่น จึงได้มีการรื้อฟื้นการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีชิงถ้วยพระราชทาน “มหิดล” อีกครั้งหนึ่งโดยกลับมาแข่งขันอีกประจำปี พ.ศ. 2549 เป็นครั้งที่ 23 ในยุคแรกแข่งขันที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ โดยครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธีและทอดพระเนตรการแข่งขัน มีนิสิตนักศึกษาของทั้งสองสถาบัน และประชาชนเฝ้ารับเสด็จฯ มากกว่า 30,000 คน

 

ปัจจุบัน นอกจากจะมีการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลแล้ว ยังมีงานบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแสดงของ TU Rugby Ambassador, CU Rugby Ambassador คทากร เชียร์ลีดเดอร์ คณะผู้นำเชียร์ และกองเชียร์ของทั้งสองสถาบัน พร้อมทั้งการแสดงดนตรีจากศิลปินอีกด้วย

 

Reference

www.siamsport.co.th/other/other/view/170158

th.wikipedia.org/wiki/งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

www.wikiwand.com/th/งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์